ร้าน สมเด็จพุทธคุณ
www.rung-lakroi.99wat.com
0993579545 0645179964
-

สมเด็จพุทธคุณยินดีต้อนรับ รับเช่าและจัดหาพระเครื่องพระบูชาทุกประเภท พระสมเด็จ พระกรุ พระเกจิยอดนิยม พระสวยติดรางวัล มีให้ท่านเลือกชมในราคามิตรภาพไม่แพงเวอร์คร้บ หว้งว่าจะได้รับความพึงพอใจจากท่านนะครับ

สนใจรายการไหนโทรคุยได้ที่ 099-3579545 0645179964 รักษ์รุ่ง รุ่งเรือง(รุ่ง)

 
พระสมเด็จกรุวัดเฉลิมพระเกียรติ พิมพ์ฐาน 3 ชั้น ยันต์ห้า No.0220


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
สมเด็จพุทธคุณ
โดย
รุ่งหลักร้อย
ประเภทพระเครื่อง
พระกรุ
ชื่อพระ
พระสมเด็จกรุวัดเฉลิมพระเกียรติ พิมพ์ฐาน 3 ชั้น ยันต์ห้า No.0220
รายละเอียด
พระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติ จ.นนทบุรี
วัดเฉลิมพระเกียรติ จ.นนทบุรี เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่ พระชนกและพระชนนีในสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2390

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลา ไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์

ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระ บรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อ ปี พ.ศ. 2390

ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2393 ทรงโปรดให้อาราธนา "พระปรีชาเฉลิม" (เกษ) พระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อ จากวัดอรุณราชวรารามมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดเฉลิมพระเกียรติ

วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2394

เมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสรรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า " ...ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ 40,000 ชั่ง ขอสัก 1,000 ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุง วัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย..."

เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่ เป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนเสร็จเรียบ ร้อย โดยโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2401

พระสมเด็จและพิมพ์ต่างๆของวัดเฉลิมพระเกียรตินี้ สร้างโดยหลวงพ่อเกษหรือพระครูปรีชาเฉลิม (เกษ) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดเฉลิมฯ ในราวๆปีช่วง พ.ศ. 2401 จนถึง พ.ศ. 2410

พิธีการปลุกเสกเป็นการรวมด้วยพระอาจารย์หลายๆท่านมาร่วมพิธีปลุกเสกหมู่ในครั้งนั้นซึ่งก็อยู่ในยุคเดียวกัน โดยหลวงพ่อเกษ ซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ด้วย

ในเวลานั้นพิธีการสร้างพระสมเด็จเฉลิมพระเกียรติเป็นพิธีใหญ่ จากศิลปะงานช่างนั้นเป็นระดับช่างหลวงอย่างแน่นอน การปลุกเสกต้องไม่ธรรมดา เมื่อสร้างเสร็จก็ได้แจกจ่ายและบรรจุไว้ตามเพดานโบสถ์รวมทั้งบรรจุไว้ในพระเจดีย์ใหญ่ในวัดนั่นเอง

พระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเครื่องเนื้อผงสีขาวออกเหลืองนวล เนื้อหาจะค่อนข้างจัด ในผงวิเศษแต่จะมีความอ่อนในมวลสาร จะเห็นได้ว่าเนื้อผงจะค่อนข้างละเอียดเนียนในองค์ที่เนื้อละเอียด ส่วนในองค์ที่บรรจุกรุไว้ในพระเจดีย์ใหญ่จะมีฝ้ากรุค่อนข้างแน่นฉาบบนผิวองค์พระ พระจากกรุพระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรตินี้ส่วนใหญ่เรียบร้อยมาก เนื่องจากสภาพกรุคงดีเยี่ยม น้ำท่วมไม่ถึงนั่นเอง

ส่วนเม็ดก้อนมวลสารนั้นจะเห็นน้อยเพราะแก่ผงวิเศษมากกว่า ทำให้ก้อนเม็ดมวลสารโตๆ จะเห็นต่อเมื่อเนื้อพระถูกใช้และสึกลงไปพอสมควร เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายก็จะพบ และมีจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นเนื้อหยาบนั้นจะพบเห็นได้ชัดเจน ในบางองค์จะมีเนื้อจัดระดับเดียวกับพระสมเด็จบางขุนพรหมหรือพระสมเด็จวัดระฆังเลยทีเดียว

พระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรตินี้มีทั้งเนื้อดิน เนื้อผงใบลานสีดำคล้ายพระกริ่งคลองตะเคียนก็มี พระบางองค์ลงรักปิดทองและที่เป็นพิมพ์พิเศษองค์งามมีการเคลือบแบบพระขุนแผนอยุธยาก็มี พระวัดเฉลิมมีสร้างไว้หลายแบบพิมพ์ ทั้งแบบทรงสี่เหลี่ยม แบบเล็บมือ พิมพ์พระพุทธชินราชและแบบกลีบบัว รูปลักษณะองค์พระประธานจะคล้ายๆกัน แต่จะมีการประดับยันต์รอบๆองค์พระแตกต่างกันไป

พระวัดเฉลิมพระเกียรติมีหลายพิมพ์ เป็นพระเนื้อผงสีขาวเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื้อดำสร้างด้วยผงใบลานและเนื้อดินก็มีแต่พบน้อยมาก

พิมพ์ที่พบโดยทั่วไป
1. พิมพ์ 3 ชั้น ยันต์ 5 ตัว ไม่มีซุ้ม
2. พิมพ์ 3 ชั้น ยันต์ 5 ตัว มีซุ้ม
3. พิมพ์ 5 ชั้น ซุ้มตัว “วา” หน้าใหญ่
4. พิมพ์ 5 ชั้น ซุ้มตัว “วา” หน้าเล็ก
5. พิมพ์ 5 ชั้น ซุ้มครอบแก้ว
6. พิมพ์ 5 ชั้น ซุ้มดอกบัว 4 ดอก
7. พิมพ์ 7 ชั้น ซุ้มครอบแก้ว
8. พิมพ์ 7 ชั้น ซุ้มตัว “วา”
9. พิมพ์พระคงหน้าเดียว
10. พิมพ์พระคงสองหน้า
11. พิมพ์กลีบบัวซุ้มชินราช
12. พิมพ์กลีบบัวซุ้มยันต์ 5 ตัว

ในบางข้อมูลกล่าวว่าผู้สร้างคือพระครูปรีชาเฉลิม (แฉ่ง) เจ้าอาวาสวัดเฉลิมพระเกียรติองค์ที่ 3 แต่แท้ที่จริงแล้ว ท่านเป็นผู้พบพระเครื่องวัดเฉลิมฯ ในคราวที่ท่านได้บูรณะซ่อมแซมองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอยู่ใกล้ๆกับพระอุโบสถต่างหาก ในราวๆปี พ.ศ. 2458 – 2465

พระที่แตกกรุออกจากพระเจดีย์ใหญ่ในวัด ครั้งแรกที่แตกกรุออกมาหลายพันองค์ คาดว่าน่าจะสร้างตามคติความเชื่อโบราณที่จะสร้างพระเครื่องไว้สืบพระพุทธศาสนาประมาณ 84,000 องค์ และในครั้งนั้นพระครูปรีชาเฉลิม (แฉ่ง) ท่านได้นำเอาพระวัดเฉลิมพระเกียรติไปแจกชาวบ้านที่ วัดบัวขวัญ จังหวัดนนทบุรี จึงทำให้เข้าใจกันว่าท่านเป็นผู้สร้างพระวัดเฉลิมพระเกียรติ และท่านได้นำบางส่วนได้บรรจุกลับไปไว้ในพระเจดีย์ตามเดิม

มีข้อมูลเรื่องการเปรียบเทียบด้านเนื้อหาความเก่าระหว่างพระวัดเฉลิมพระเกียรติกับพระพิมพ์สมเด็จฐานคู่ของเจ้าคุณฯ สุนทร (พรหม) วัดกัลยาที่สร้างไว้เมื่อปีพ.ศ. 2465 หรือ พระพิมพ์สมเด็จที่เล่นหากันเป็นหลวงพ่อหม่น คลองสิบสอง ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2463 (แต่ความจริงแล้วเป็นพระที่สร้างโดย หลวงพ่อพันธ์ วัดสุวรรณ คลองเก้า อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ที่เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อหม่นต่างหาก)

โดยคาดเดาเปรียบเทียบว่าพระทั้งสามสำนักดังกล่าวมีเนื้อหาความเก่าใกล้เคียงกันมากที่สุด ซึ่งเป็นการคาดเดาอย่างไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

(หากต้องการดูพระทั้งหมดในร้าน กดหน้าแรก ด้านบนเลยนะครับ)
ราคา
โทรถาม
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
0993579545 0645179964
ID LINE
-
จำนวนการเข้าชม
6,764 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 509-2-670xx-x